วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ระบบแฟ้มข้อมูล

1.โครงสร้างของแฟ้มข้อมูล

ในระบบคอมพิวเตอร์  หน่วยที่เล็กที่สุดของข้อมูล คือ Bit (Binary Digit)  ซึ่งใช้ แทนเหตุการณ์ หรือ สถานะได้เพียง 2        อย่างเท่านั้นไม่เพียงพอ
กับการแทนข้อมูลจำนวนมหาศาลได้ จึงรวมกลุ่มของบิตเข้าด้วยกันเพื่อแทนอักขระ 1 ตัว   แต่หน่วยของข้อมูลที่เล็กที่สุดที่มีความหมายต่อผู้ใช้คือ เขตข้อมูล (Field)
ซึ่งประกอบด้วยอักขระตั้งแต่ 1 ตัว   ขึ้นไปมารวมกันให้เกิดความหมายขึ้นมาใช้ แทนข้อมูลเขตข้อมูลที่รวมกันอย่างมีจุดประสงค์กลายเป็นระเบียนข้อมูลที่สามารถนำ
ไปใช้งานได้ 

การจัดโครงสร้างข้อมูล

ในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อประยุกต์ใช้งานในองค์การ ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องมีความเข้าใจในระบบจัดการข้อมูล และสามารถ
จัดรูปแบบข้อมูล เพื่อที่จะสามารถเข้าถึง (Access) และเรียกใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ กระบวนการในการจัดการกับข้อมูลมีดังนี้
 1. ข้อมูลจะต้องเป็นตัวแทน (Represent) ของสิ่งที่องค์กรต้องการศึกษาและจัดต้องถูกจัดเก็บ (Store) ในรูปแบบที่สามารถเข้าถึงได้ในภายหลัง
 2.ข้อมูลต้องถูกจัดระบบ (Organize) ให้สามารถเลือกเข้าถึงได้ตามจุดมุ่งหมายของผู้ใช้ ในลักษณะต่าง ๆ กัน และเข้าถึงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 3. ข้อมูลจะต้องถูกประมวลผล (Process) และนำเสนอ (Present) ในรูปแบบที่ตรงตามความต้องการของผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
 4. ข้อมูลจะต้องถูกจัดในลักษณะที่สามารถป้องกัน (Project) และจัดการ (Manage) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.ชนิดของแฟ้มข้อมูล
ในการสร้างชื่อไฟล์ในปัจจุบันจะมีการกำหนดชื่อไฟล์โดยมีส่วนประกอบ 2 ส่วน คือส่วนชื่อ และส่วนนามสกุล โดยส่วนชื่อจะเป็นคำภาษาอังกฤษ หรือภาษาใดๆที่ระบบปฏิบัติการเข้าใจ ในระบบ DOS จะอนุญาตให้ตั้งชื่อได้ไม่เกิน 8 ตัวอักษร แต่ในวินโดว์ได้กำหนดความยาวชื่อได้มากกว่า ส่วนนามสกุล จะเป็นส่วนบอกชนิดของไฟล์นั้นๆ โดยทั่วไปจะมีความยาวอยู่ระหว่าง 0 ถึง 3 ตัวอักษร แต่อาจมีบางชนิดที่ยาว 4 หรือ 5 ตัวอักษร ในการตั้งชื่อไฟล์ เราจะเขียนส่วนของชื่อ และนามสกุลต่อกัน โดยมีเครื่องหมายจุด(.) เป็นตัวคั่น
ชนิดแฟ้มข้อมูล
ลักษณะนามสกุล
หน้าที่
Executable
Exe, Com, Bin
ประมวลผลคำสั่งภาษาเครื่อง
Object
Obj, O
ทำหน้าที่คอมไพล์, หรือเป็นภาษาเครื่อง
Source Code
C, P, Pas, 177, Asm, A
เป็น Source Code ของภาษาคอมพิวเตอร์
Batch
Bat, Sh
เป็นชุดคำสั่ง
Text
Txt, Doc
ข้อมูลที่เป็นข้อความ
Word Processor
Wp, Tex, Rrf
รูปแบบของการประมวลผลข้อความ
Library
Lib, A
ข้อมูลเกี่ยวกับ Library หรือ Routine
Print or View
Ps, Dvi, Gif, Jpg
ไฟล์ที่เก็บข้อมูลเป็นรหัส ASCII หรือฐาน 2
Archive
Arc, Zip, Rar
เป็นไฟล์ หรือกลุ่มไฟล์ที่ได้ผ่านการบีบอัดข้อมูลไว้

3.วิธีการเข้าถึงแฟ้มข้อมูล
3.1 การเข้าถึงข้อมูลแบบเรียงลำดับ(Sequential Access)
ในการเข้าถึงข้อมูลแบบเรียงลำดับเป็นวิธีการแก้ไขที่ธรรมดาที่สุด เช่นตัวแกไข(Editor) และคอมไพล์เลอร์(Compiler) จะมีวิธีการเข้าถึงข้อมูลแบบนี้
การทำงานบนแฟ้มแบบนี้ คือ การอ่านและการเขียน การอ่านจะอ่านส่วนถัดไปของแฟ้ม และเปลี่ยนค่าตัวชี้แฟ้มข้อมูลโดยอัตโนมัติตามตำแหน่งของ I/O เหมือนกับการเขียนแบบต่อท้ายข้อมูล แต่ละแฟ้มข้อมูลสามารถกลับไปเริ่มต้นใหม่ และบางระบบโปรแกรมอาจจะสามารถข้ามไปข้างหน้า หรือข้างหลัง
สำหรับการเข้าถึงข้อมูลแบบเรียงลำดับเป็นพื้นฐานการทำงานของเทปแม่เหล็ก


3.2 การเข้าถึงข้อมูลแบบสุ่ม(Random Access)

  เป็นลักษณะของโครงสร้างแฟ้มข้อมูลที่เข้าถึงได้โดยตรง เมื่อต้องการอ่านค่าเรคคอร์ดใดๆสามารถทำการเลือกหรืออ่านค่านั้นได้ทันที ไม่จำเป็นต้องผ่านเรคคอร์ดแรกๆเหมือนกับแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ ซึ่งทำให้การเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็วกว่า ปกติจะมีการจัดเก็บในสื่อที่มีลักษณะการเข้าถึงได้โดยตรงประเภทจานแม่เหล็ก เช่น ดิสเก็ตต์, ฮาร์ดดิสก์หรือ CD-ROM เป็นต้น

4.การจัดระบบแฟ้ม File System
4.1 การจัดเก็บแฟ้มเรียงต่อเนื่องกันตลอดทั้งแฟ้ม ( Continuous Allocation)                          
เป็นแนวคิดพื้นฐานในการจัดเก็บแฟ้มข้อมูล โดยจะจัดเก็บแฟ้มข้อมูลในรูปของลำดับบล็อกที่ต่อเนื่องกัน    เช่นหากแต่ละบล็อกมีขนาด 1 กิโลไบต์ แฟ้มข้อมูลขนาด 50 กิโลไบต์ ก็ต้องใช้เนื้อที่ขนาด 50 กิโลไบต์ที่ต่อเนื่องกันในดิสก์ ซึ่งแนวคิดในการจัดเก็บข้อมูลแบบนี้จะมีข้อดี 2 ประการคือ มีโครงสร้างไม่ซับซ้อนและใช้งานง่าย เนื่องจากในระบบแฟ้มข้อมูลแบบนี้ไม่จำเป็นต้องมีการรักษาค่าต่างๆ ของดิสก์เลย เพียงแต่ทราบตำแหน่งเริ่มต้นของแฟ้มข้อมูลก็จะสามารถทำงานได้โดยการอ่านข้อมูลต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ จนกว่าจะสิ้นสุดแฟ้มข้อมูล และข้อดีประการที่สองคือในการอ่านข้อมูลทั้งแฟ้มนั้นสามารถทำได้โดยใช้คำสั่งอ่านข้อมูลเพียงคำสั่งเดียวก็จะสามารถอ่านข้อมูลที่มีในแฟ้มข้อมูลนั้นได้ทั้งหมด และในทางกลับกันแฟ้มข้อมูลลักษณะนี้ก็มีข้อเสียสองประการเช่นเดียวกันคือ ประการแรกระบบปฏิบัติการจะไม่สามารถทราบขนาดของแฟ้มข้อมูลเมื่อเริ่มมีการสร้างขึ้นมาได้
  4.2 การจัดเก็บแฟ้มแบบตารางแฟต (File Allocation Table : FAT )
                       ในการจัดเก็บแฟ้มแบบแฟต  ระบบปฏิบัติการต้องมีวิธีที่จะทราบว่าแต่ละบล็อคของแฟ้มจะเก็บไว้ในบล็อคใดในดิสก์ และไม่จำเป็นที่ข้อมูลของแฟ้มเดียวกันจะอยู่ใน บล็อคที่ติดกัน ซึ่งจะต้องมีลิงก์เชื่อมระหว่างบล็อคที่เก็บข้อมูลของแฟ้มแฟ้มเดียวกัน ดังนั้นใน บล็อคขนาด 512 ไบต์ จะใช้ประโยชน์ในการเก็บข้อมูลของแฟ้มเพียง 510 ไบต์ ส่วนอีก 2 ไบต์ที่เหลือจะใช้ในการเก็บหมายเลขบล็อคลำดับถัดไปที่เก็บข้อมูลแฟ้มเดียวกัน ซึ่งในกรณีที่แฟ้มมีขนาดใหญ่จะทำให้ต้องใช้เวลามากในการเข้าถึงแฟ้ม เนื่องจากต้องย้ายไปยังบล็อคต่างๆ ที่เก็บข้อมูลของแฟ้มหลายบล็อค 
ภาพแสดงแฟ้มข้อมูลแบบตารางแฟต

4.3 การจัดระบบแฟ้มแบบเรด RAID
แต่อย่างไรก็ตามจากการที่ปัจจุบันดิสก์เองก็มีความเร็วในการทำงาน และความจุมากอยู่แล้วการพยายามปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมอีกโดยอาศัยแนวความคิดในลักษณะดังกล่าวก็ยากลำบากขึ้น
                เมื่อเกิดปัญหาความยากลำบากในการปรับปรุงการทำงาน ผู้ออกแบบฮาร์ดแวร์จึงหันไปอาศัยแนวคิดการทำงานแบบขนานเป็นแนวคิดพื้นฐานในการปรับปรุงการ ทำงานของดิสก์ และได้ออกแบบโครงสร้างการทำงานของดิสก์ในรูปแบบใหม่ซึ่งเรียกว่าเรด ( RAID : Redundant Array of Inexpensive Disks ) ซึ่งในการใช้งานเรดนี้มีแนวคิดในการประยุกต์ใช้งานในหลายรูปแบบ โดยมีแนวคิดหลักของการทำงานใน 2 ลักษณะ
                คือ การใช้งานเรดในลักษณะของเงากระจก ( Mirroring ) และการใช้งานเรดในลักษณะการแบ่งส่วนของแฟ้ม( Striping ) โดยในการติดตั้งเรดเพื่อใช้งานนั้นจะเป็นลักษณะใดขึ้นอยู่กับซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการควบคุมการทำงาน ดังนั้นถึงแม้ว่าในระบบจะมีการติดตั้งเรดเพียงชุดเดียวแต่จะสามารถใช้งานได้ทั้งแบบเงากระจกและแบบแบ่งส่วนของแฟ้มข้อมูล ทั้งนี้ขึ้นกับซอฟต์แวร์ที่ควบคุมการทำงานนั้นเอง โดยแนวคิดของการทำงานของแต่ละลักษณะเป็นดังนี้

วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554

การติดตาย (Deadlock)


ในสภาพการทำงานแบบหลายโปรแกรม หลายโพรเซสอาจจะมีการแข่งกันเข้าใช้งานทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด โพรเซสจะมีการร้องขอใช้งานทรัพยากรถ้าในขณะนั้นทรัพยากรไม่ว่างก็จะส่งผลให้โพรเซสนั้นรอจนกว่าจะได้เข้าทำงาน  ดังนั้นจึงอาจเหตุกรณีที่โพรเซสถูกให้อยู่ในสถานะการรอไปไม่มีที่สิ้นสุดเนื่องจากทรัพยากรนั้นก็ถูกร้องขอจากโพรเซสอื่นที่รออยู่เช่นกัน  เช่นนี้เรียกว่าการติดตาย (Deadlock)

        รูปแบบโครงสร้าง

ทรัพยากรในระบบมีอยู่อย่างจำกัดในการใช้งาน ดังนั้นจึงต้องเกิดการแย่งเข้าใช้ทรัพยากรนั้น  ชนิดของ
ทรัพยากรในที่นี้แบ่งออกเป็น เนื้อที่ว่างในหน่วยความจำ  เวลาในการประมวลผล  ไฟล์ และอุปกรณ์ I/O เมื่อโพรเซสต้องการเข้าใช้ทรัพยากรต้องมีการร้องขอแล้วก็ออกจากการใช้ทรัพยากรนั้นหลังจากเสร็จสิ้นการทำงาน ณ ส่วนนั้น จำนวนการร้องขอใช้ทรัพยากรจะต้องไม่มากกว่าจำนวนทรัพยากรที่มีอยู่ในระบบ ดังนั้นสามารถลำดับการทำงานของโพรเซสใช้ทรัพยากรดังนี้
1. request  ถ้าในกรณีที่การร้องขอไม่สามารถได้รับการตอบสนองทันที อาจเนื่องจากทรัพยากรขณะนั้นกำลังถูกโพรเซสอื่นใช้งาน  แล้วโพรเซสที่ทำการร้องขอเข้ามาต้องรอจนกว่าจะเข้าใช้ทรัพยากรนั้นได้
2. Use : โพรเซสสามารถทำงานบนทรัพยากร (เช่น การพิมพ์งานผ่านทางเครื่องพิมพ์)
3. Release : โพรเซสออกจากการใช้ทรัพยากร


ลักษณะของการติดตาย

การติดตายสามารถเกิดขึ้นได้หากเกิดสถานการณ์ดังต่อไปนี้
1. Mutual Exclusion  ต้องมีทรัพยากรอย่างน้อย 1 ตัวที่ไม่ได้อนุญาตให้ร่วมใช้งาน ดังนั้นมีเพียงโพรเซสเดียวที่สามารถเข้าใช้งาน  ถ้าโพรเซสอื่นมีการร้องขอเข้าใช้งาน การร้องขอต้องถูกรอจนกว่าทรัพยากรนั้นจะว่างให้ใช้งาน
2. Hold & wait ต้องมีโพรเซสมีการใช้งานทรัพยากรอย่างน้อย 1 ตัว และกำลังรอเพื่อเข้าทำงานทรัพยากรอีกตัวที่กำลังถูกโพรเซสอื่นใช้งาน
3. No  Preemption  ทรัพยากรสามารถถูกปล่อยได้ตามความพอใจของโพรเซสที่กำลังใช้งาน ซึ่งก็คือหลังจากที่งานของโพรเซสนั้นเสร็จสิ้น เนื่องจากขึ้นอยู่กับความพอใจของโพรเซสว่าจะยอมปล่อยทรัพยากรออกให้ใช้งานได้เมื่อไหร่
4. Circular Wait มีเชตของ {P0, P1, ..., Pn} ของโพรเซสที่กำลังรอเช่น P0 กำลังรอทรัพยากรที่ถูกใช้โดย P1 ขณะเดียวกัน P1 ก็รอเข้าใช้ทรัพยากรที่กำลังถูกโพรเซส P2 ใช้งาน  ท้ายสุดโพรเซสตัวสุดท้ายกำลังรอเข้าใช้ทรัพยากรที่โพรเซสแรกกำลังใช้งาน
การกำหนดทรัพยากรด้วยกราฟ

 

                การติดตายสามารถอธิบายได้ด้วยกราฟอย่างง่ายๆ เรียกว่า System resource-allocation graph  กราฟนี้จะประกอบไปด้วยกลุ่มของ V (Vertices) และกลุ่มของ E (edge)   กลุ่มของ V แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่คือจุดของ



P = {P1,P2,P3...,Pn}  เซตนี้ประกอบด้วยโพรเซสที่กำลังทำงานในระบบ  และจุดของ R = {R1,R2,R3...,Rm} เซตนี้ประกอบด้วยทรัพยากรทุกชนิดในระบบ    การร้องขอสามารถแทนได้ด้วย  Pi à Rj  หมายถึงโพรเซส Pi ขอเข้าทำงานทรัพยากร Rj   ส่วนการกำหนดให้ทรัพยากรบริการโพรเซสแทนได้ด้วย Rk à Pj หมายถึงทรัพยากร Rk กำลังถูกโพรเซส Pj ใช้งาน

 วิธีการควบคุมการติดตาย

เพื่อป้องกันหรือควบคุมการเกิดการติดตายสามารถทำได้ 3 วิธีคือ
1. แน่ใจว่าระบบจะไม่เกิดการติดตายโดยการใช้ Protocol
2. ยอมให้ระบบเข้าสู่การติดตายได้ชั่วคราวแล้วสามารถออกมาได้
3. เมินเฉยทุกอย่าง แล้วอ้างว่าไม่เคยเกิดการติดตายในระบบ วิธีนี้ใช้อยู่ในระบบ Unix

 การป้องกันการติดตาย

Mutual Exclusion  เงื่อนไขของการเกิด mutual คือการใช้งานทรัพยากรที่อนุญาตให้ใช้ได้ทีละงาน เช่น เครื่องพิมพ์  อีกนัยหนึ่งการร่วมใช้ข้อมูลโดยไม่ต้องการเข้า mutual ทำให้ไม่เกิดการติดตาย ตัวอย่างของไฟล์ที่สามารถอ่านได้อย่างเดียว ถ้าหลายๆโพรเซสพยายามที่จะอ่านก็สามารถเข้าอ่านได้ทันทีอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดีทรัพยากรบางชนิดไม่สามารถประกาศใช้งานร่วมกันได้

                Hold / Wait  รับรองได้ว่าเมื่อมีการร้องขอใช้ทรัพยากรทำงาน โพรเซสนั้นต้องไม่ได้กำลังใช้งานทรัพยากรอื่นอยู่ ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธีการเช่น บังคับให้โพรเซสร้องขอแล้วก็จัดสรรการใช้งานทรัพยากรให้กับโพรเซสนั้นๆก่อนที่จะมีการเริ่มทำงาน   หรือยอมให้โพรเซสขอใช้ทรัพยากรได้เมื่อโพรเซสไม่ได้ทำงานในส่วนใดอยู่


No Preemption  ถ้าโพรเซสมีการใช้งานทรัพยากรอื่นอยู่ ดังนั้นก็จะไม่สามารถเข้าทำงานในทรัพยากร ที่ขอใช้ไปได้ทันทีในขณะนั้น  แล้วทุกๆโพรเซสที่กำลังถูกใช้ในขณะนั้นจะถูกปลดปล่อยให้ว่าง   โพรเซสที่ถูกบังคับให้ออกจากการใช้บริการจะถูกเพิ่มเข้าไปในรายการของทรัพยากรที่มีโพรเซสรอใช้งาน จากนั้นโพรเซสจะเริ่มทำงานก็ต่อเมื่อโพรเซสนั้นได้รับสิทธิให้ใช้ทรัพยากรตัวเดิมได้  ในขณะที่โพรเซสอื่นๆกำลังร้องขอ

                Circular Wait  ก่อนที่จะเริ่มใช้วิธีการนี้ต้องทำการกำหนดลำดับของชนิดทรัพยากรทั้งหมดและเมื่อร้องขอว่าในแต่ละโพรเซสที่ขอใช้ทรัพยากรเป็นการเพิ่มจำนวนลำดับของชนิดทรัพยากรที่ได้ระบุไว้ กำหนดให้ R เป็นเซตของชนิดทรัพยากร R1 , R2 .. ,Rn  เรากำหนดในแต่ละชนิดทรัพยากรเป็นเลขจำนวนเต็มเพื่อให้สามารถทำการเปรียบเทียบได้  เช่นถ้าเซต ทรัพยากรกลุ่ม R คือมีเทป ดิสก์ และเครื่องพิมพ์


   การหลีกเลี่ยงการติดตาย

จากข้อที่ผ่านมาเป็นการป้องกันการเกิดการติดตายโดยการจัดการกับสัญญาณที่ร้องขอใช้ทรัพยากร แต่ อาจส่งผลให้การใช้งานระบบ หรือประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ดังนั้นจึงมีวิธีที่หลีกเลี่ยงการติดตายโดยพิจารณาจากข้อมูลของทรัพยากรที่ถูกร้องขอ เช่นในระบบที่มีเทป และเครื่องพิมพ์อย่างละตัว ดังนั้นเราอาจจัดสรรให้โพรเซส P เข้าใช้งานเทปก่อนแล้วก็ใช้งานเครื่องพิมพ์ ในขณะที่โพรเซส Q ใช้งานเครื่องพิมพ์ก่อนแล้วค่อยใช้เทป ดังนั้นนอกจากการร้องขอแล้วตรวจว่าทรัพยากรว่างหรือไม่

fivedots.coe.psu.ac.th/~wannarat/240-323/chapter7.doc

วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554

ภูกระดึง


ภูกระดึง
เมื่อกล่าวถึง “จ.เลย” ดินแดนเหนือสุดของอีสานนั้น หลายคนอาจนึกไปถึงภูต่างๆที่มีมากมายของเมืองเลยและมีความสวยงามชนิดที่ถ้าใครได้ไปเห็นอาจจะนึกว่าไม่ได้อยู่บนพื้นดิน แต่อยู่บนพื้นฟ้าเลยทีเดียว

ดังจะเห็นได้จากคำขวัญประจำ จ.เลย ที่กล่าวไว้ว่า “เมืองแห่งทะเลภูเขา สุดหนาวในสยาม ดอกไม้งามสามฤดู” โดยสถานที่ตั้งตัวเมืองเลยอยู่ท่ามกลางภูเขาน้อยใหญ่ ดินฟ้าอากาศจึงคล้ายกับภาคเหนือ คือมีอากาศหนาวเย็นมีหมอกปกคลุมอยู่เสมอ เป็นจังหวัดเดียวในประเทศที่อากาศเคยหนาวจัดจนอุณหภูมิลดลงถึงศูนย์องศาเซลเซียส

จ.เลย ตั้งอยู่ท่ามกลางภูเขามากมาย ณ ที่แห่งนี้จึงเป็นที่ตั้งของสถานที่ที่น่าท่องเที่ยวมากมาย ทั้งป่าเขา น้ำตก และแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติอื่นๆแต่ที่ได้รับความนิยมและมีชื่อเสียงมากที่สุดคือภูกระดึง ยอดเขาที่นักธรรมชาตินิยมทุกคนใฝ่ฝันจะมาพิชิตถึงแม้ว่าจะต้องใช้ความพยายามอย่างสูงในการเดินทางขึ้นเขาพร้อมๆ กับการต่อสู้กับอากาศอันหนาวเหน็บแต่ผู้ที่ได้มาเยือนภูกระดึงทุกคนต่างลงความเห็นว่าถึงจะต้องลำบากกว่านี้ก็ยังนับว่าคุ้มค่า....

ผาหล่มสักซึ่งอุทยานแห่งชาติภูกระดึง จัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่ได้รับความนิยมมากที่สุดแห่งหนึ่งของเมืองไทย เพราะมีสภาพธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ ประกอบด้วยระบบนิเวศน์และภูมิประเทศหลากหลาย ทั้งทุ่งหญ้า ป่าสนเขา ป่าดิบ น้ำตก และหน้าผาชมทิวทัศน์ สำหรับสถานที่ท่องเที่ยวที่เด่นๆ ก็มี ผาหล่มสัก ผานกแอ่น ผาหมากดูก น้ำตกโผนพบ น้ำตกเพ็ญพบ ป่าสน ดงเมเปิ้ลแดงในช่วง มกราคม-กุมภาพันธ์ของทุกปี
ในช่วงฤดูหนาวจะมีนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมากเดินทางมาชมความงามของภูกระดึง แต่กว่าจะได้ชมความงามนั้น จะต้องผ่านการเดินเท้าขึ้นภูและปีนป่ายเขาที่มีระยะทางกว่า 9 กิโลเมตร (ขึ้นเขา 5 กิโลเมตร ทางราบอีกประมาณ 3-4 กิโลเมตร) นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่วัดใจของคู่รักได้เป็นอย่างดี ว่าพร้อมจะดูแลช่วยเหลือซึ่งกันและกันจริงยามลำบากหรือไม่


แต่ใช่ว่าเส้นทางขึ้นภูกระดึงจะมีแต่ความยากลำบากเพียงอย่างเดียว ตลอดระยะทางกว่า 5 กิโลเมตร ถึงแม้จะเป็นเส้นทางที่ค่อนข้างชัน แต่ระหว่างทางจะมีจุดพักที่เรียกกันติดปากว่า “ซำ”หมายถึงบริเวณที่มีแหล่งน้ำใต้ดินผุดขึ้นมา แต่ละจุดมีเครื่องดื่มและอาหารบริการ
อย่าคิดว่าจ.เลยมีแต่ภูกระดึงที่สวยงามเพียงภูเดียว ที่ ภูหลวง ก็จัดได้ว่ามีความสวยงามและมีเอกลักษณ์ไม่แพ้กัน

อุทยานแห่งชาติภูเรือ


              อุทยานแห่งชาติภูเรือ

สวยงามและแปลกตามากลงจากภูมาสู่พื้นดินกันบ้าง เดี๋ยวจะคิดว่าที่ จ.เลย มีดีแต่ภู แต่ที่จริงๆแล้วบนพื้นราบข้างล่างยังมีส่วนที่น่าเที่ยวอีกหลายกลาก ไม่ว่าจะเป็นพระธาตุสัจจะ ซึ่งเป็นเหมือนพระธาตุพนมจำลอง สร้างขึ้นเพื่อเป็นการต่อชะตาพระธาตุพนม และเพื่อเป็นการตั้งสัจจะบารมีตามอธิษฐานของผู้สร้างให้พุทธศาสนาดำรงสืบไปในดินแดนแถบนี้

แต่ถ้าใครที่อยากเห็นแม่คะนิ้งและทะเลหมอก ต้องมาที่ ภูเรือ แห่งอุทยานแห่งชาติภูเรือ ซึ่งเป็นหนึ่งในเทือกเขาใน อ.ภูเรือ มีลักษณะพิเศษรูปร่างคล้ายเรือสำเภาใหญ่ ที่ราบบนเขามีลักษณะคล้ายท้องเรือ
ภูเรืออุดมสมบูรณ์ด้วยป่าหลากชนิด ไม่ว่าจะเป็นป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบชื้น ป่าดิบเขา สัตว์ป่าก็มีหลายชนิด และในฤดูหนาวจะมีนกอพยพมาจากประเทศจีนเป็นจำนวนมาก บริเวณยอดภูเรือจะพบป่าสนเขาสลับกับสวยหิน และลานหินธรรมชาติ สีสายน้ำซึ่งไหลตลอดปี สภาพอากาศบนภูเรือนั้นก็เย็นสบายตลอดปี ในช่วงที่มีหมอกลงนักท่องเที่ยวสามารถชมทะเลหมอกได้ตามจุดต่างๆริมหน้าผา และบางช่วงที่อากาศหนาวจัด อาจได้พบกับปรากฏการณ์ธรรมชาติ หรือที่รู้จักกันดีในนาม “แม่คะนิ้ง”คือน้ำค้างบนยอดหญ้าที่จับตัวเป็นน้ำแข็ง

Over Clock CPU


ความหมาย Over Clock

คือการนำเอาอุปกรณ์เช่น CPU ที่ออกแบบมาสำหรับให้ทำงานที่ความเร็วค่าหนึ่ง แต่นำมาใช้งานที่ความเร็วสูงกว่านั้น เช่น CPU ความเร็ว 400 MHz แต่นำมาใช้งานที่ 500 MHz แทน หรือนำเอา CPU ที่เป็นรุ่นความเร็ว 500 MHz มาทำงานที่ความเร็ว 667 MHz อะไรทำนองนี้ครับ ภาษาที่ใช้แทนสำหรับการ Over Clock ก็เช่น 400@500 หรือ 500@667 เป็นต้น นอกจากนี้ อุปกรณ์อื่น ๆ ก็สามารถนำมา Over Clock ได้เหมือนกันนะครับ เช่น RAM ที่เป็นแบบความเร็ว 100 MHz แต่นำมาทำงานที่ความเร็ว 133 MHz รวมถึงการ Over Clock การ์ดจอด้วยครับ เช่นปกติการ์ดจอทำงานที่ความเร็ว 110 MHz แต่เราตั้งให้ทำงานที่ 120 MHz อย่างนี้ก็เรียกว่า Over Clock เหมือนกัน แต่โดยทั่วไปแล้วจะนิยมทำ Over Clock กับ CPU มากกว่า

วิธีการ Over Clock CPU


ที่จริงแล้ว ผมเองต้องขอออกตัวก่อนนะครับว่าไม่ใช่เซียน Over Clock เพียงแต่ประสบการณ์ที่ผ่านมาทำให้ผมต้องเขียนเรื่องนี้ ก็เพราะว่าเจ้าคอมพิวเตอร์เครื่องแรก (ที่ผมมีโอกาสได้เป็นเจ้าของจริง ๆ) โดนคนขายหลอกมาเอา CPU Pentium 100 MHz มาทำ Over Clock เป็น Pentium 120MHz โดยที่ผมเองก็ไม่ค่อยจะได้รู้เรื่องอะไร ก็ใช้ไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งวันหนึ่ง เกิดอยากจะ Upgrade เครื่องขึ้นมาถึงได้รู้ความจริงว่า CPU ตัวนั้นเป็นแค่ Pentium 100 MHz ดังนั้นท่านทั้งหลาย ก็ควรจะลองตรวจสอบเครื่องที่ท่านใช้งานอยู่บ้าง ว่าจะเจออย่างผมหรือเปล่า ในส่วนของผมคงจะเขียนอธิบายแต่ละส่วนเพียงคร่าว ๆ เท่านั้น หากต้องการรายละเอียดของเทคนิคต่าง ๆ ก็ลองหาอ่านดูตาม Link ด้านล่างเพิ่มเติมได้

ข้อดีของการ Over Clock


ที่เห็นชัดเจนคือได้ใช้ CPU ที่มีความเร็วมากขึ้น โดยที่จ่ายเงินซื้อในราคาเท่าเดิม เช่น แทนที่จะซื้อ CPU ความเร็ว 500 MHz ก็เปลี่ยนเป็นการซื้อ CPU ที่มีความเร็ว 400 MHz มาทำ Over Clock เป็น 500 MHz ซึ่งผลที่ได้ก็คือ ได้ใช้งาน CPU ที่ความเร็วเท่ากันในราคาที่ถูกกว่า และอีกแนวทางหนึ่ง ก็คือสมมติว่า คุณใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ไปนาน ๆ แล้ว เกิดมีความรู้สึกว่าเครื่องที่ใช้งานอยู่นั้น เริ่มจะมีความเร็วช้าไปบ้าง แต่ยังไม่อยากที่จะลงทุนเปลี่ยนเครื่องหรือ Upgrade เปลี่ยน CPU ใหม่ การนำเอา CPU ตัวเดิมนั้นมาทำ Over Clock ก็เป็นทางออกอีกทางหนึ่ง ที่จะได้ความเร็วเพิ่มขึ้นมา โดยการเสียเงินน้อยที่สุดครับ นอกจากนี้ยังได้ความรู้เกี่ยวกับ เครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นด้วย

ข้อเสียของการ Over Clock



เท่าที่ทราบมา จะเป็นการลดอายุการใช้งานของ CPU ลงไป เช่นจากเดิมที่เคยออกแบบมาให้ใช้งานได้ประมาณ 15 ปี ก็อาจจะมีอายุสั้นลงมาเหลือแค่ 10 ปีเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่แล้วก็คงจะไม่มีใครใช้งาน CPU ได้นานขนาดนั้นหรอกครับ อีกข้อหนึ่งก็คือ เรื่องความร้อนของเครื่องคอมพิวเตอร์ จะมีมากขึ้นเมื่อทำการ Over Clock เพราะว่าเหมือนกับการใช้งาน CPU แบบเกินกว่าค่าปกตินะครับ อ้อ อีกอย่างหนึ่ง เขาบอกว่า CPU ของคุณจะหมดประกันทันทีที่ทำการ Over Clock (ผมเองก็ไม่ทราบเหมือนกันนะครับว่า จะตรวจสอบได้อย่างไร)

วันจันทร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2553

คุนหมิง

คุนหมิงเมืองไทย
แก่งคุดคู้ เป็นแก่งหินขนาดหใญ่ขวางอยู่กลางลำน้ำโขง ห่างจากตัวอำเภอเชียงคานประมาณ 3 กิโลเมตร ประกอบด้วยหินก้อนใหญ่ ๆ เป็นจำนวนมาก ตัวแก่งกว้างใหญ่เกือบจรดสองฝั่งแม่น้ำโขง มีกระแสน้ำไหลผ่านไปเพียงช่องแคบ ๆ ใกล้ฝั่งทะเลไทยซึ่ง กระแสน้ำเชี่ยวกราก เวลาที่เหมาะชมแห่งคุดคู้ที่สุดคือ เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นเวลาที่น้ำแห้ง มองเห็น เกาะแก่งต่าง ๆ ชัดเจน บริเวณแก่ง มีร้านอาหารจำหน่ายมากมายด้วยครับ

สวนหินผางามหรือคุนหมิงเมืองเลย เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามของเมืองเลย เป็นเขาหินปูนสลับซับซ้อนและต้นไม้ที่ขึ้นตามหินปูนสวยงาม แนวผาหินปูนสูงใหญ่แลดูเป็นสง่า ทอดตัวเป็นแนวยาว โดดเด่นท่ามกลางทุ่งหญ้าเขียวขจี พื้นที่บริเวณนี้คือที่ตั้งของ สวนหินผางาม เมืองเลย
    
ภายในมีเส้นทางเดินสลับซับซ้อน บางช่วงดูลึกลับตื่นเต้นคล้ายกับผจญภัยอยู่ในเขาวงกต บางช่วงต้องปีนป่ายเพิงหิน หรืออาจต้องมุดลอดโพรงถ้ำ นอกจากนี้ตลอดเส้นทางยังมีโอกาสพบเห็นต้นไม้หายาก และต้นไม้ยักษ์ อย่างปรงเขาที่มีอายุหลายร้อยปี

     สวนหินแห่งนี้ ตั้งอยู่ที่บ้าน ผางาม หมู่ 10 ตำบลปวนพุ กิ่งอำเภอหนองหิน แยกจากทางหลวงสายเมืองเลยชุมแพ ช่วงระหว่างอำเภอวังสะพุงกับภูกระดึง เข้าไปทางทิศตะวันตกตามถนนลาดยางตลอดสาย ผ่านหมู่บ้านต่างๆ ประมาณ 15 กม. จะมีป้ายบอกทางตลอดทางจนถึงบริเวณทุ่งหญ้าพื้นที่กว้างพอสมควร
     ภูเขาแท่งหินปูน ซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ อยู่กระจายเป็นลูกๆ ใหญ่บ้างเล็กบ้าง สลับกันไป บางลูกก็สามารถเดินผ่านทะลุได้ จะมีชื่อเรียกต่างๆ กันตามลักษณะรูปร่างที่ปรากฎ เช่น หินไดโนเสาร์ หน้าผาท้อแท้ ซุ้มคารวะ ถ้ำอรทัย เขาวงกต เจดีย์หิน กรอบรูปธรรมชาติ กำแพงเมืองจีน ประตูโขง หินมงกุฎ สวนหิน ซุ้มนรก รูรันตู (รูตัน)


     นอกจากนั้นยังมีต้นไม้นานาพันธ์ขึ้นแซม ซึ่งพบต้นไม้หายากและต้นไม้ยักษ์อย่างปรงเขาที่มีอายุหลายร้อยปี จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า คุนหมิงเมืองเลย สันนิษฐานกันว่าในอดีตเคยเป็นพื้นของท้องทะเลมาก่อน และมีอายุมากว่า 225 ล้านปี ภายในมีทางเดินสลับซับซ้อน บางช่วงดูลึกลับน่าตื่นเต้นคล้ายกับผจญภัยอยู่ในเขาวงกต บางช่วงต้องปีนป่ายเพิงหิน หรืออาจต้องมุดลอดโพรงถ้ำ
      ในบริเวณ มีสถานีบริการนักท่องเที่ยว ที่จอดรถ ห้องน้ำ ร้านขายของที่ระลึก และร้านอาหารให้บริการแก่นักท่องเที่ยว ที่สถานีบริการนักท่องเที่ยวมีบริการนำทาง และให้คำบรรยาย ค่าบริการเพียง 100 บาทต่อนักท่องเที่ยวหนึ่งคณะ มีจุดชมวิวเพื่อถ่ายภาพยอดเขา คุนหมิงเมืองเลย ไว้เป็นที่ระลึก
     หลังจากนั้นเดินลงบันไดทางด้านหลังเขา ซึ่งเป็นบริเวณที่ตั้งของร้านค้า ฝั่งตรงข้ามจะปากทางเข้าถ้ำลอด ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นการเดินท่องเที่ยวศึกษาธรรมชาติอีกเส้นทางหนึ่ง ซึ่งมีสถานที่น่าสนใจหลายแห่ง ได้แก่ อุโมงค์ลานเพลิน 7 สี ป่าเฟิร์นที่บรรยากาศร่มรื่นเย็นสบาย หินยาย หินตา ซึ่งตั้งชื่อตามลักษณะที่ปรากฏ

ภูหลวง

                                                                    
 ภูหลวง

ภูหลวง หมายถึงภูเขาใหญ่ ภูหลวงมีเนื้อที่ประมาณ 140 ตารางกิโลเมตร มีเทือกเขาสลับซับซ้อน ประกอบด้วยภูเขาหลายลูก ด้วยสภาพอากาศที่หนาวเย็น ภูหลวงจึงเป็นถิ่นพันธุ์ไม้เมืองหนาว เช่น ไม้สนแผงหรือต้นแปกลม ต้นเมเปิ้ล หรือที่เรียกว่าไฟเดือนห้า บ๊วยจีน และเป็นแหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าอีกกว่า 160 ชนิด มีโตรกผา สวนหินธรรมชาติงามน่าชม บริเวณโคกผาเตลิ่น ด้านตะวันออกของเทือกภูหลวงมีการค้นพบซากหินรอยเท้าไดโนเสาร์อายุกว่า 120 ล้านปี
ในแต่ละฤดูฝนภูหลวงนั้น ก็จะมีสีสันและความสวยงามแตกต่างกันออกไป ถ้าเดินทางมาในฤดูร้อน ดอกไม้ป่าที่บานจะมีสีสันเจิดจ้าสวยงามอย่าง เอื้องตาเหิน กล้วยไม้ป่าดอกขาว มีกระเปาะสีเหลืองลักษณะคล้ายแคทลียา ชอบขึ้นตามก้อนหิน หรือกุหลาบขาว ซึ่งออกเป็นช่อ แต่ละดอกมีลักษณะคล้ายดอกชบา
 


ดอกไม้สีสันสวยงามน่าชม....ที่ภูหลวง

 หรือถ้ามาฤดูฝน ก็จะได้พบกับพืชล้มลุกต้นเล็กๆที่ชอบขึ้นตามพื้นดิน อย่างเปราะภู ดอกไม้ป่าดอกเล็กๆสีชมพูอมม่วง และเทียนน้อย ดอกสีม่วงขึ้นกระจายริมผา ฤดูนี้ตามโขดหินยังมีเฟิร์นและไลเคน สีสันสวยงามน่าชม ถ้าจะให้ถูกใจจริงๆต้องมาฤดูหนาว เพราะอากาศเป็นใจ มองไปทางไหนก็สวยงาม แถมยังมีต้นก่วมแดงหรือที่เรียกกันติดปากว่า ต้นเมเปิ้ล จะเปลี่ยนสีเป็นสีแดงแล้วผลัดใบ มองต่ำลงไปอีกนิดที่พื้นดินจะเป็นต้นกระดุมเงิน ออกดอกสีกลมๆขาวๆ แต่ที่น่าตื่นตาตื่นใจที่สุดเห็นจะเป็นรองเท้านารีปีกแมลงปอ ซึ่งขึ้นอยู่บนก้อนหินและตามพื้นป่าดิบเขา